ฟุตบอลโลก 2022 จัดที่ไหน

ประวัติศาสตร์หน้าใหม่กำลังจะถูกจารึกอีกครั้งในปี 2022 แฟนบอลคงเริ่มรู้สึกถึงบรรยากาศความคึกคักของเทศกาลลูกหนังระดับนานาชาติที่ใกล้เข้ามาเรื่อยๆ เนื่องจากเป็นครั้งแรกที่ฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายจะจัดขึ้นที่ประเทศในแถบตะวันออกกลางอย่างกาตาร์ หลังจากครั้งสุดท้ายเมื่อปี 2002 บนดินแดนญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ หรือเมื่อ 20 ปีก่อน

การแข่งขันจะถูกปรับมาจัดขึ้นช่วงปลายปีในเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคมทั้งหมด 28 วัน แทนที่ปกติซึ่งจะจัดในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม เนื่องจากต้องหลีกร้อนอากาศร้อนช่วงกลางปีที่กาตาร์นั่นเอง

โดยเจ้าภาพ กาตาร์ ได้สร้างสนาม ฟุตบอลโลก 2022 เพื่อต้อนรับแฟนบอลจากทั่วโลกถึง 8 สนาม ใน 5 เมืองของกาตาร์ ซึ่งแต่ละสนามอยู่ในรัศมี 55 กิโลเมตร จากกรุงโดฮา พร้อมด้วยขนส่งสาธารณะทั้งรถไฟฟ้าและรถรางอำนวยความสะดวกแฟนบอลให้สามารถชมแมตช์สำคัญต่าง ๆ ถูกเตรียมพร้อมสำหรับการแข่งขันครั้งนี้โดยเฉพาะ ซึ่งนัดเปิดสนามจะเริ่มแข่งขันที่ สนามอัล เบย์ท สเตเดียม  วันที่ 20 พฤศจิกายน กระทั่งจบการแข่งขันนัดชิงชนะเลิศที่ สนามลูเซล ไอคอนิก สเตเดียม ในวันที่ 18 ธันวาคม

ฟุตบอลโลก 2022 จัดที่ไหน – ลูเซล ไอคอนนิค สเตเดี้ยม (Lusail Iconic Stadium)

สนามกีฬานานาชาติลูเซล เป็นสนามฟุตบอล ในเมืองลูซัยล์ ประเทศกาตาร์ ห่างจากกรุงโดฮาไปทางเหนือประมาณ 23 กิโลเมตร เป็นสนามกีฬาที่ใหญ่ที่สุดในกาตาร์ และเป็นหนึ่งในสนามกีฬาที่จัดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 ซึ่งรวมถึงนัดชิงชนะเลิศ
ความจุ : 80,000 ที่นั่ง

แมตช์แข่งขัน : 10 นัด (รอบแบ่งกลุ่ม, รอบ 16 ทีม, รอบก่อนรองชนะเลิศ, รอบรองชนะเลิศ, รอบชิงชนะเลิศ) 

22 พฤศจิกายน 2565 : กลุ่ม ซี : อาร์เจนติน่า พบ ซาอุดิอาระเบีย เวลา 17.00 น.

24 พฤศจิกายน 2565 : กลุ่ม จี : บราวิล พบ เซอร์เบีย เวลา 02.00 น. 

26 พฤศจิกายน 2565 : กลุ่ม ซี : อาร์เจนติน่า พบ เม็กซิโก เวลา 02.00 น.

28 พฤศจิกายน 2565 : กลุ่ม เอช : โปรตุเกส พบ อุรุกวัย เวลา 02.00 น. 

30 พฤศจิกายน 2565 : กลุ่ม ซี : ซาอุดิอาระเบีย พบ เม็กซิโก เวลา 02.00 น.

2 ธันวาคม 2565 : กลุ่ม จี : แคเมอรูน พบ บราซิล เวลา 02.00 น.

6 ธันวาคม 2565 แชมป์กลุ่ม เอช พบ รองแชมป์กลุ่ม จี 02.00 น.

9 ธันวาคม 2565 : รอบ 8 ทีมสุดท้าย คู่ที่ 2 เวลา 02.00 น.

13 ธันวาคม 2565 :  รอบรองชนะเลิศ คู่ที่ 1 เวลา 02.00 น.

18 ธันวาคม 2565 : คู่ชิงชนะเลิศ เวลา 22.00 น. 

ลูเซล ไอคอนิค สเตเดี้ยม เป็นสนามหลักของศึกฟุตบอลโลก 2022 โดยจะใช้เป็นสังเวียนฟาดแข้งมากที่สุดถึง 10 นัด ซึ่งไฮไลท์ของสนามแห่งนี้คือ เกมนัดชิงชนะเลิศ ในวันที่ 18 ธันวาคม 2565 สนามแห่งนี้ได้รับแรงบันดาลใจในการออกแบบจากแสงและเงาที่เกิดจากตะเกียงไฟสไตล์อาหรับ โดย ลูเซล ไอคอนิค สเตเดี้ยม ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้งานในศึก ฟุตบอลโลก 2022   โดยเฉพาะ และเมื่อการแข่งขันสิ้นสุดลง เก้าอี้ในสนามจะถูกถอดออกเพื่อนำไปบริจาคให้กับประเทศกำลังพัฒนาที่ต้องการนำเก้าอี้ไปใช้สร้างสนามของตัวเองนอกจากนี้ ตัวสนามจะถูกปรับเปลี่ยนให้เป็น Community Space ซึ่งจะมีทั้งร้านค้า ร้านอาหาร คาเฟ่ ฟิตเนส สถานที่ออกกำลังกาย คลีนิคสุขภาพ และอื่นๆ อีกมากมาย เนื่องจากเมืองลูเซลไม่มีความจำเป็นต้องใช้สนามฟุตบอลหลังจากเสร็จสิ้นภารกิจเวิลด์คัพ

ฟุตบอลโลก 2022 จัดที่ไหน –อัล เบย์ท สเตเดี้ยม (Al Bayt Stadium)

Al Khor  เป็นเมืองชายฝั่งทางตอนเหนือของกาตาร์ห่างจากเมืองหลวงโดฮาไปทางเหนือ 50 กิโลเมตร ถือเป็นหนึ่งในเมืองที่ใหญ่ที่สุดของกาตาร์ก็เป็นเมืองหลวงของเขตเทศบาลเมืองของอัลคอร์ ชื่อเมืองมีความหมายว่าลำห้วยในภาษาอาหรับ ; มันได้รับชื่อนี้เพราะการตั้งถิ่นฐานเดิมถูกสร้างขึ้นบนลำห้วย

  • ที่ตั้ง : เมืองอัลกอร์
  • ความจุ : 60,000 ที่นัง
  • แมตช์แข่งขัน : 9 นัด (นัดเปิดสนาม, รอบแบ่งกลุ่ม, รอบ 16 ทีม, รอบก่อนรองชนะเลิศ, รอบรองชนะเลิศ)

20 พฤจิกายน 2565 : กลุ่ม เอ : กาตาร์ พบ เอกวาดอร์ เวลา 23.00 น.

23 พฤศจิกายน 2565 :กลุ่ม เอฟ : โมร็อกโก พบ โครเอเชีย เวลา 17.00 น. 

25 พฤศจิกายน 2565 :กลุ่ม บี : อังกฤษ พบ สหรัฐอเมริกา เวลา 02.00 น.

27 พฤศจิกายน 2565 : กลุ่ม อี : สเปน พบ เยอรมนี เวลา 02.00 น. 

29 พฤศจิกายน 2565 : กลุ่ม เอ : ฮอลแลนด์ พบ กาตาร์ เวลา 22.00 น. 

1 ธันวาคม 2565 : กลุ่ม อี : คอสตาริก้า พบ เยอรมนี เวลา 02.00 น. 

4 ธันวาคม 2565 : แชมป์กลุ่ม บี พบ รองแชมป์กลุ่ม เอ เวลา 02.00 น. 

10 ธันวาคม 2565 : รอบ 8 ทีมสุดท้าย คู่ที่ 4 เวลา 02.00 น.

14 ธันวาคม 2565 : รอบรองชนะเลิศ คู่ที่ 2 เวลา 02.00 น.

สนามอัล เบย์ท เป็นอีกหนึ่งสนามสำคัญของฟุตบอลโลกครั้งนี้ เนื่องจากจะใช้เป็นสังเวียนแข้งของเกมนัดเปิดสนามระหว่าง “เจ้าภาพ” กาตาร์ พบกับ เอกวาดอร์ ในวันที่ 20 พ.ย. อัล เบย์ท สเตเดี้ยม ถูกออกแบบให้มีโครงสร้างคล้ายกับเต็นท์แบบดั้งเดิมของอาหรับ และสนามแห่งนี้มีหลังคาที่สามารถเปิดปิดได้ เพื่อแก้ปัญหาสภาพอากาศสุดแสนจะร้อนอบอ้าวของกาตาร์ ขณะเดียวกัน ด้วยความที่สนามแห่งนี้อยู่ไกลจากเมืองหลวงของกาตาร์ คือ กรุงโดฮา มากที่สุด คือเกือบ 44 กิโลเมตร จึงมีการสร้างโรงแรมระดับ 5 ดาว และศูนย์การค้าไว้ใกล้เคียงกับสนาม เพื่อรองรับแฟนบอลหรือนักท่องเที่ยวที่ไม่สะดวกจะเดินทางไปยังกรุงโดฮาด้วย สนามสำหรับแมตช์รองชนะเลิศ ฟุตบอลโลก 2022 ตั้งอยู่ในเมืองอัลคอร์อยู่ห่างจากโดฮาไปทางเหนือเพียง 35 กม. อัลคอร์ เป็นเมืองที่มีชื่อเสียงด้านการดำน้ำ, ตกปลา และไข่มุก เสน่ห์ของที่นี่ดึงดูดผู้คนที่อาศัยอยู่ในทะเลทรายให้มาชายฝั่ง สนามกีฬาแห่งนี้มีความโดดเด่นด้วยดีไซน์ที่ได้แรงบรรดาลใจมาจากเต็นท์สไตล์อาหรับ อันเป็นเอกลักษณ์ของตะวันออกกลาง พร้อมหลังคาที่สามารถเปิด-ปิดได้ รองรับแฟนบอลได้สูงสุด 60,000 คน สนามแห่งนี้เหมือนกับการต้อนรับแฟนบอลจากทั่วโลกสู่อารยธรรมดั้งเดิมของประเทศและสนุกไปกับเกมฟุตบอลในเวลาเดียวกัน การออกแบบสนามกีฬา อัล เบย์ท นั้นยกย่องทั้งอดีตและปัจจุบันของประเทศกาตาร์ ในขณะเดียวก็จับตาดูอนาคตของชุมชนอย่างแน่วแน่ เป็นการพัฒนาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากสนามกีฬาแล้วสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับชุมชนก็ได้ถูกสร้างขึ้นมารอบๆ เช่นกัน หลังจบการแข่งขันสนามแห่งนี้จะเข้าถึงผู้คนทั่วโลกได้มากขึ้น ชิ้นส่วนในการสร้างสนามสามารถแยกออกไปได้ ชั้นบนของที่นั่งถูกเอาออก และมอบให้กับประเทศกำลังพัฒนาที่ต้องการโครงสร้างพื้นฐานด้านสนามกีฬา ซึ่งเป็นเครื่องเตือนใจที่คงอยู่ตลอดไปถึงจิตวิญญาณที่เอื้อเฟื้อของเจ้าภาพกาตาร์นั้นเอง

ฟุตบอลโลก 2022 จัดที่ไหน – 974 ราส อาบู อาบูด สเตเดี้ยม (974 Ras Abu Aboud Stadium)

โดฮา  เป็นเมืองหลวงของกาตาร์ ตั้งอยู่ในอ่าวเปอร์เซีย  โดฮาเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในกาตาร์ ด้วยประชากรมากกว่า 80% ของประเทศอาศัยอยู่ในโดฮาหรือปริมณฑล และยังเป็นเมืองศูนย์กลางด้านเศรษฐกิจของประเทศ และยังเป็นที่ตั้งของรัฐบาลของกาตาร์ ที่ปกครองโดยเชคฮามัด บิน คอลีฟะห์ อัลตานี โดฮายังเคยเป็นเมืองเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ 2006 สเตเดี้ยม 974 ถือเป็นสังเวียนแข้งที่เก๋ไก๋มากที่สุดแห่งหนึ่งของวงการฟุตบอลเลยก็ว่าได้ เพราะเป็นสนามที่ถูกสร้างจากตู้คอนเทนเนอร์จำนวน 974 ตู้ จนเป็นที่มาของชื่อสนาม รวมทั้งใช้วัสดุโครงสร้างต่างๆ ที่สามารถรื้อถอนได้ง่าย เนื่องจากเป็นสนามฟุตบอลเฉพาะกิจที่จะถูกใช้ในฟุตบอลโลกครั้งนี้เท่านั้น

  • ที่ตั้ง : กรุงโดฮา
  • ความจุ : 40,000 ที่นั่ง
  • แมตช์แข่งขัน : 7 นัด (รอบแบ่งกลุ่ม, รอบ 16 ทีม)

22 พฤศจิกายน 2565 : กลุ่ม ซี : เม็กซิโก พบ โปแลนด์ เวลา 23.00 น. 

24 พฤศจิกายน 2565 : กลุ่ม เอช : โปรตุเกส พบ กาน่า เวลา 23.00 น. 

26 พฤศจิกายน 2565 : กลุ่ม ดี : ฝรั่งเศส พบ เดนมาร์ก เวลา 23.00 น. 

28 พฤศจิกายน 2565 : กลุ่ม จี : บราซิล พบ สวิตเซอร์แลนด์ เวลา 23.00 น.

30 พฤศจิกายน 2565 : กลุ่ม ซี : โปแลนด์ พบ อาร์เจนติน่า เวลา 02.00 น.

2 ธันวาคม 2565 : กลุ่ม จี : เซอร์เบีย พบ สวิตเซอร์แลนด์ เวลา 02.00 น.

5 ธันวาคม 2565 : แชมป์กลุ่ม จี พบ รองแชมป์กลุ่ม เอช เวลา 02.00 น.

จุดเด่นอีกหนึ่งอย่างของสเตเดี้ยม 974 คือเรื่องทัศนียภาพ โดยบริเวณภายนอกสนามสามารถมองเห็น โดฮา คอร์นิช (Doha Corniche) ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอันขึ้นชื่อของกรุงโดฮา ใช้สำหรับจัดกิจกรรม จัดแสดงประติมากรรม หรือเป็นสถานที่พักผ่อน ซึ่งมีทางเดินระยะทาง 7 กิโลเมตรเลียบไปตามอ่าวโดฮา ท่ามกลางบรรยากาศสุดชิล หนึ่งในสเตเดี้ยมที่ดีไซน์โดดเด่นไม่ซ้ำใคร มีความจุ 40,000 ที่นั่ง ด้วยการนำตู้คอนเทนเนอร์มาทำเป็นสนามฟุตบอล การออกแบบได้รับแรงบันดาลใจจากการค้าและการเดินเรือไปทั่วโลกของกาตาร์ ตัวเลข 974 เป็นรหัสการโทรระหว่างประเทศของกาตาร์ รวมถึงจำนวนตู้คอนเทนเนอร์ที่ใช้ในการก่อสร้างสนาม หลังจากจบการแข่งขันที่นี่ไม่กลายเป็นสนามร้างแน่นอนเพราะจะทำการรื้อถอนและนำไปใช้เป็นวัสดุของโครงการอื่นๆ สำหรับแฟนบอลที่มาเยือนสามารถชมทัศนียภาพโดยรอบของชายฝั่งของอ่าวอันตระการตาของกรุงโดฮาได้อย่างเต็มอิ่ม แนวคิดการออกแบบของ 974 ราส อาบู อาบูด สเตเดี้ยม คือความสวยงาม รวดเร็ว และประหยัดต้นทุน รูปทรงสี่เหลี่ยมโค้งมนสง่างาม ทำให้บรรยากาศที่น่าจดจำ สนามนี้มีนวัตกรรมใหม่คือเป็นสเตเดี้ยมที่ถอดเปลี่ยนได้แห่งแรกในประวัติศาสตร์ ส่วนประกอบของสนามกีฬาอื่นๆ สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ บางส่วนของสถานที่แห่งนี้จะถูกนำไปใช้ในอนาคต กำหนดมาตรฐานใหม่ในด้านความยั่งยืน นอกเหนือจากโครงสร้างพื้นฐานอันทรงคุณค่า Stadium 974 ยังให้ตัวอย่างที่ดีแก่นักพัฒนาสนามกีฬาทั่วโลกในด้านการต่อยอดความยั่งยืน

ฟุตบอลโลก 2022 จัดที่ไหน – คาลิฟา อินเตอร์เนชั่นแนล สเตเดี้ยม (Khalifa International Stadium)

คาลิฟา อินเตอร์เนชันแนล สเตเดี้ยม เป็นสนามเก่าแก่ที่ถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 1976 และเป็นสนามกีฬาแห่งชาติของกาตาร์ โดยเคยใช้จัดการแข่งขันกีฬารายการใหญ่มาแล้วมากมาย เช่น เอเชียน เกมส์ 2006, กรีฑาชิงแชมป์โลก 2019, ฟุตบอลเอเชียน คัพ 2011, แพน อาหรับ เกมส์ 2011, ฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก 2019 และทัวร์นาเมนต์อื่นๆ อีกมากมาย

  • ที่ตั้ง : เมืองอัล รายยาน
  • ความจุ : 45,416 ที่นั่ง
  • แมตช์แข่งขัน : 8 นัด (รอบแบ่งกลุ่ม, รอบ 16 ทีม, นัดชิงอันดับ 3)

21 พฤศจิกายน 2565 : กลุ่ม บี : อังกฤษ พบ อิหร่าน เวลา 20.00 น.

23 พฤศจิกายน 2565 : กลุ่ม อี : เยอรมนี พบ ญี่ปุ่น เวลา 20.00 น.

25 พฤศจิกายน 2565 : กลุ่ม เอ : ฮอลแลนด์ พบ เอกวาดอร์ เวลา 23.00 น.

27 พฤศจิกายน 2565 : กลุ่ม เอฟ : โครเอเชีย พบ แคนาดา เวลา 23.00 น.

29 พฤศจิกายน 2565 : กลุ่ม เอ : เอกวาดอร์ พบ เซเนกัล เวลา 22.00 น. 

1 ธันวาคม 2565 : กลุ่ม อี : ญี่ปุ่น พบ สเปน เวลา 02.00 น.

3 ธันวาคม 2565 : แชมป์กลุ่ม เอ พบ รองแชมป์กลุ่ม บี เวลา 22.00 น. 

17 ธันวาคม 2565 : คู่ชิงอันดับที่ 3 เวลา 22.00 น.

สำหรับ คาลิฟา อินเตอร์เนชันแนล สเตเดี้ยม เป็นสนามแห่งเดียวที่ถูกสร้างขึ้นก่อนที่กาตาร์จะได้เป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการปรับปรุงเป็นระยะ จนกระทั่งรีโนเวทครั้งใหญ่ เมื่อปี 2017 เพื่อเตรียมพร้อมเป็นสังเวียนแข้งในฟุตบอลโลกครั้งนี้ สนามกีฬานานาชาติคาลิฟาสร้างขึ้นในปี 1976 ในเมืองอัล เรย์ยาน ถือเป็นรากฐานที่สำคัญของประวัติศาตร์กีฬาของประเทศอย่างยาวนาน และเป็นอนาคตที่สดใสด้วยเช่นกัน อารีน่าที่จุแฟนๆ ได้ถึง 40,000 ที่นั่ง สำหรับสนามนี้การัตรีด้วยการนี้มีประวัติเป็นเจ้าภาพงานใหญ่อยู่แล้วทั้ง อาราเบียนกัลฟ์คัพ, เอเชียนเกมส์, และเอเอฟซีเอเชียนคัพ เป็นสนามที่คู่ควรกับตะวันออกกลาง สำหรับคนในกาตาร์และภูมิภาคนี้ สนามกีฬานานาชาติคาลิฟาคือเพื่อนเก่าที่คุ้นเคยซึ่งเป็นศูนย์กลางของชุมชนนั้นเอง ภูมิศาสตร์ที่ของสนามแห่งนี้มีความสะดวกสบาย พร้อมด้วยระบบการขนส่งที่ครบครัน เหมาะสมกับการแข่งขันฟุตบอลระดับนานาชาติที่ โดยสนามกีฬาได้มีการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง ปรับรูปทรงให้ล้ำสมัย หลังคาส่วนโค้งคู่ที่โอบรับแฟนบอลจากทั่วทุกมุมโลก พร้อมหลังคาระบบควบคุมสภาพอากาศด้วยเทคโนโลยีระบายความร้อนขั้นสูง นี่ยังคงเป็นสนามกีฬาที่มีบรรยากาศแบบที่ผู้ชมชื่นชอบ สนามกีฬามีอาคารใหม่ที่สวยงามด้านหน้า ในขณะที่ระบบไฟไฟ LED และสปอตไลต์ดิจิตอลที่ล้ำสมัยนำมิติใหม่มาสู่ประสบการณ์ของแฟนบอล

ฟุตบอลโลก 2022 จัดที่ไหน – อัล ธูมามา สเตเดี้ยม (Al Thumama Stadium)

อัล ธูมามา สเตเดี้ยม เปิดใช้งานอย่างเป็นทางการเมื่อปี 2021 ตั้งอยู่ห่างจากใจกลางกรุงโดฮาไปทางใต้ 12 กิโลเมตร โดยชื่อของสนามมาจากชื่อของต้นไม้พื้นเมือง แต่ดีไซน์ของตัวสนาม ถูกสร้างเป็นทรงเดียวกับ “กาห์ฟิยา” หมวกถักตามประเพณีของชายชาวตะวันออกกลาง และนี่เป็นสนามใหม่แห่งเดียวในศึกฟุตบอลโลกครั้งนี้ ที่ออกแบบโดยสถาปนิกชาวกาตาร์ นามว่า อิบราฮิม อัล ไจดาห์ สนามฟุตบอลแห่งนี้ได้แรงบันดาลใจในการออกแบบมาจาก Gahfiya หมวกสำหรับผู้ชายในแถบตะวันออกกลาง และบริเวณภายนอกสนามจะมีมัสยิด รวมทั้งโรงแรมไว้รองรับแฟนบอลด้วย

  • ที่ตั้ง : กรุงโดฮา
  • ความจุ : 40,000 ที่นั่ง
  • แมตช์แข่งขัน : 8 นัด (รอบแบ่งกลุ่ม, รอบ 16 ทีม, รอบก่อนรองชนะเลิศ)

21 พฤศจิกายน 2565 : กลุ่ม เอ : เซเนกัล พบ ฮอลแลนด์ เวลา 23.00 น.

23 พฤศจิกายน 2565 : กลุ่ม อี : สเปน พบ คอสตาริก้า เวลา 23.00 น.

25 พฤศจิกายน 2565 : กลุ่ม เอ : กาตาร์ พบ เซเนกัล เวลา 20.00 น.

27 พฤศจิกายน 2565 : กลุ่ม เอฟ : เบลเยียม พบ โมร็อกโก เวลา 20.00 น.

29 พฤศจิกายน 2565 : กลุ่ม บี : อิหร่าน พบ สหรัฐอเมริกา เวลา 02.00 น. 

1 ธันวาคม 2565 : กลุ่ม เอฟ : แคนาดา พบ โมร็อกโก เวลา 22.00 น.

4 ธันวาคม 2565 : แชมป์กลุ่ม ดี พบ รองแชมป์กลุ่ม ซี เวลา 22.00 น. 

10 ธันวาคม 2565 : รอบ 8 ทีมสุดท้าย คู่ที่ 3 เวลา 22.00 น.

ทั้งนี้ ภายหลังจบศึกฟุตบอลโลก 2022 อัล ธูมามา สเตเดี้ยม จะถูกถอดเก้าอี้ออกจำนวนครึ่งหนึ่งเพื่อนำไปบริจาค อย่างไรก็ตามหลัง สนามแห่งนี้ถูกแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล หรือ องค์การนิรโทษกรรมสากล โจมตีว่ามีการใช้ละเมิดสิทธิมนุษยชนเป็นอย่างมาก จนทำให้มีแรงงานข้ามชาติเสียชีวิตไปไม่น้อยในช่วงระหว่างการก่อสร้าง สนามฟุตบอลดีไซน์สวยงามและมีสไตล์ได้รับแรงบรรดาลใจจาก gahfiya หรือว่าหมวกสานอาหรับแบบดั้งเดิม ส่วนชื่อของสนามฟุตบอลจากชื่อของพันธุ์ไม้ท้องถิ่น รูปแบบวงกลมที่โดดเด่นเหมือนหมวกอาหรับของบุรุษและเด็กชายทั่วทั้งตะวันออกกลาง เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมอาหรับ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของศักดิ์ศรีและความอิสระ สะท้อนถึงเส้นทางสู่วัยผู้ใหญ่ของเด็กชายทุกๆ คน หมายความว่า อัล ธูมามา สเตเดี้ยม ให้ความสำคัญกับเยาวชนที่จะก้าวไปในวงการกีฬาระดับโลกในอนาคตนั้นเอง การออกแบบของสนามกีฬาเน้นเรื่องสิ่งแวดล้อม ใช้น้ำรีไซเคิลสำหรับพื้นที่สีเขียว บริเวณรอบสนามๆ มีเนื้อที่เป็นสวนสาธารณะ 50,000 ตร.ม. ประกอบด้วยพืชพันธุ์พื้นเมืองและต้นไม้เกือบ 400 ต้นครอบคลุมพื้นที่ 84% ของสนามที่ สำหรับผู้มาเยี่ยมชมที่เดินทางการด้วยเที่ยวบินลงสู่ท่าอากาศยานนานาชาติฮาหมัด จะได้เห็นสนามกีฬาอันงดงามแห่งนี้เป็นครั้งแรกจากด้านบน รูปแบบที่โดดเด่นของสนามจะทำให้ผู้มาเยือนสัมผัสได้ถึงหัวใจของครอบครัวอาหรับ และการก้าวเข้าไปในสนามจะเป็นประสบการณ์ที่ประทับใจครั้งหนึ่งในชีวิตสำหรับแฟนฟุตบอล

ฟุตบอลโลก 2022 จัดที่ไหน – อัล ยานูบ สเตเดี้ยม (Al Janoub Stadium)

อัล Wakrah  เป็นเมืองหลวงของเขตเทศบาลเมืองอัล Wakrahในกาตาร์ ขอบด้านตะวันออกของ Al Wakrah คือชายฝั่งของอ่าวเปอร์เซียและเมืองหลวงDohaของกาตาร์ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของเมือง ปกครองโดย Sheikh Abdulrahman bin Jassim Al Thaniเดิมเป็นหมู่บ้านชาวประมงและไข่มุกขนาดเล็ก ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เมืองนี้พัฒนาเป็นเมืองเล็กๆ ที่มีประชากรมากกว่า 80,000 คน และปัจจุบันถือเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสองในกาตาร์ 

สนามอัล ยานูบ  หรือชื่อเดิมคือ สนามอัล วาคราห์ โดยการออกแบบได้แรงบันดาลใจมาจากใบเรือของ เรือโดว์ ซึ่งเป็นเรือโบราณของกาตาร์ ซึ่งช่วงที่มีการออกแบบสนามแห่งนี้เกิดดราม่าเล็กน้อย เนื่องจากถูกวิจารณ์ว่ามีลักษณะคล้ายอวัยวะเพศหญิง มากกว่าที่จะเป็นเรือใบ

  • ที่ตั้ง : เมืองอัล วาคราห์
  • ความจุ : 40,000 ที่นั่ง
  • แมตช์แข่งขัน : 7 นัด (รอบแบ่งกลุ่ม, รอบ 16 ทีม)

22 พฤศจิกายน 2565 : กลุ่ม ดี : ฝรั่งเศส พบ ออสเตรเลีย เวลา 02.00 น. 

24 พฤศจิกายน 2565 : กลุ่ม จี : สวิตเซอร์แลนด์ พบ แคเมอรูน เวลา 17.00 น.

26 พฤศจิกายน 2565 : กลุ่ม ดี : ตูนิเซีย พบ ออสเตรเลีย เวลา 17.00 น.

28 พฤศจิกายน 2565 : กลุ่ม จี : แคเมอรูน พบ เซอร์เบีย เวลา 17.00 น. 

30 พฤศจิกายน 2565 : กลุ่ม ดี : ออสเตรเลีย พบ เดนมาร์ก เวลา 22.00 น. 

2 ธันวาคม 2565 : กลุ่ม เอช : กาน่า พบ อุรุกวัย เวลา 22.00 น.

5 ธันวาคม 2565 : แชมป์กลุ่ม อี พบ รองแชมป์กลุ่ม เอฟ เวลา 22.00 น. 

สำหรับสนามแห่งนี้เคยใช้จัดการแข่งขันแมตช์สำคัญมาแล้ว อาทิ นัดชิงชนะเลิศ เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก 2020 และใช้จัดศึกฟีฟ่า อาหรับ คัพ 2021 โดยหลังจากจบศึกเวิลด์คัพ 2022 สนามอัล ยานูบ จะลดความจุลงครึ่งหนึ่ง จาก 40,000 เหลือ 20,000 ที่นั่ง และจะใช้เป็นรังเหย้าของ อัล วาคราห์ เอสซี สโมสรดังในลีกลูกหนังของกาตาร์ เปิดใช้งานเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2019 โดยจัดเกม อาเมียร์ คัพ รอบชิงชนะเลิศ ดีไซน์ของสนามได้แรงบันดาลใจมาจากเรือของชาวกาตาร์ที่เรียกว่าเรือโดว์แบบดั้งเดิม เมื่อแฟนฟุตบอลเข้ามาที่ใกล้สนามกีฬาจะพบกับสวนสวยๆ เป็นการต้อนรับ สถาปัตยกรรมที่หรูหรา มุมมองจากภายในสนามกีฬามีที่คานโค้งขึ้นไปบนหลังคาคล้ายกับตัวเรือ และปล่อยให้แสงส่องเข้ามาในสนาม ซึ่งมีการออกแบบที่ฉลาด วิเคราะห์สภาพภูมิอากาศโดยละเอียด รูปร่างของสนามกีฬามีการบังแสงที่เหมาะสม การควบคุมอุณหภูมิ ติดตั้งระบบทำความเย็น เพื่อแฟนบอลได้สนุกกับเกมอย่างเต็มที่ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมมากมายให้ผู้มาเยือนได้ทำทั้งก่อนและหลังการแข่งขัน อาทิ เดินเล่นริมน้ำ, ซื้อเครื่องใช้ของที่ระลึกในท้องถิ่นแบบไม่ซ้ำใคร, ศึกษาประวัติศาสตร์อันยาวนานที่พิพิธภัณฑ์ เป็นต้น นอกจากกิจกรรมท่องเที่ยวแล้วสถานที่แห่งนี้ยังคำนึงถึงการใช้งานหลังทัวร์นาเมนต์ เพราะพร้อมใช้งานเป็น ห้องเรียน, ห้องจัดงานแต่งงาน,  สนามขี่จักรยาน, ลู่วิ่ง, ร้านอาหาร, ตลาด, โรงยิม และสวน ซึ่งเป็นประโยชน์ระยะยาว ทำให้ชุมชนแน่นแฟ้นใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น

ฟุตบอลโลก 2022 จัดที่ไหน – อาเหม็ด บิน อาลี สเตเดี้ยม (Ahmed bin Ali Stadium)

อาห์มัด บิน อาลี สเตเดี้ยม หรือที่ส่วนใหญ่รู้จักกันในชื่อ อัล รายยาน สเตเดี้ยม ซึ่งเป็นรังเหย้าของ อัล รายยาน สโมสรลูกหนังชื่อดังของกาตาร์

สนามแห่งนี้ถูกออกแบบให้สะท้อนถึงวัฒนธรรมของกาตาร์ ตั้งแต่สมัยใช้ชีวิตในป่าเขาจนมาถึงประวัติศาสตร์แห่งการค้าขาย ขณะเดียวกัน อาห์มัด บิน อาลี สเตเดี้ยม ตั้งอยู่บริเวณใกล้เคียงกับพื้นที่ทะเลทราย จึงมีการตกแต่งร้านค้าและพื้นที่นอกสนามให้มีลักษณะคล้ายกับเนินทราย เพื่อให้เข้ากับภูมิประเทศในแถบนั้น

  • ที่ตั้ง : เมืองอัล รายยาน
  • ความจุ : 44,740 ที่นั่ง
  • แมตช์แข่งขัน : 7 นัด (รอบแบ่งกลุ่ม, รอบ 16 ทีม)

21 พฤศจิกายน 2565 : กลุ่ม บี : สหรัฐอเมริกา พบ เวลส์ เวลา 02.00 น. 

23 พฤศจิกายน 2565 : กลุ่ม เอฟ : เบลเยียม พบ แคนาดา เวลา 02.00 น. 

25 พฤศจิกายน 2565 : กลุ่ม บี : เวลส์ พบ อิหร่าน เวลา 17.00 น. 

27 พฤศจิกายน 2565 : กลุ่ม อี : ญี่ปุ่น พบ คอสตาริก้า เวลา 17.00 น. 

29 พฤศจิกายน 2565 : กลุ่ม บี : เวลส์ พบ อังกฤษ เวลา 02.00 น.

1 ธันวาคม 2565 : กลุ่ม เอฟ : โครเอเชีย พบ เบลเยียม เวลา 22.00 น.

3 ธันวาคม 2565 : แชมป์กลุ่ม ซี พบ รองแชมป์กลุ่ม ดี เวลา 02.00 น. 

เมืองอัล เรย์ยาน ซึ่งเป็นที่ตั้งของสนามกีฬาแห่งนี้ มีความโดดเด่นจากความรักในประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น ตลอดจนทีมมีฟุตบอลยอดนิยมอย่าง อัล เรย์ยาน สปอร์ต คลับ ชุมชนที่แน่นแฟ้นมีความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าต่อทีม ซึ่งสนามใหม่นี้จุคนมากถึง 40,000 คน รูปแบบของสนามผสมผสานสัญลักษณ์ของวัฒนธรรมกาตาร์เข้ากับส่วนหน้าอาคารที่เป็นลูกคลื่นได้อย่างตระการตา สิ่งอำนวยความสะดวกรอบๆ สนามกีฬายังสะท้อนถึงประเทศด้วยโครงสร้างรูปเนินทรายชวนให้นึกถึงป่าที่สวยงามทางทิศตะวันตก อัล เรย์ยาน สเตเดี้ยมนี้พร้อมต้อนรับแฟนฟุตบอลจากทั่วโลกด้วยความเต็มใจ พร้อมจะแสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมอันร่ำรวย

นอกจากรูปแบบสถาปัตยกรรมอิสลามที่น่าประทับใจสะท้อนถึงงานหัตถกรรมอันวิจิตรงดงามในกาตาร์ ในส่วนของสิ่งอำนวยก็ตอบโจทย์การใช้งานด้วยโครงสร้างเบาะนั่งขนาดกะทัดรัด หลังคาน้ำหนักเบา และไม่ต้องเรื่องสภาพอากาศเพราะมีระบบระบายความร้อนขั้นสูง ทำให้ผู้ชมสนุกกับทุกแมตช์และทำให้แฟนกีฬาและรู้สึกใกล้ชิดกับการแข่งขันในสนามได้เต็มที่

ฟุตบอลโลก 2022 จัดที่ไหน – เอ็ดดูเคชั่น ซิตี้ สเตเดี้ยม (Education City Stadium)

สนามเอดูเคชัน ซิตี้ สเตเดี้ยม ตั้งอยู่ในบริเวณของมูลนิธิกาตาร์ (Qatar Foundation) โดยถูกออกแบบให้มีลักษณะคล้ายเพชร สามารถเปล่งแสงระยิบระยับได้ทั้งกลางวันและกลางคืน สนามแห่งนี้จึงถูกตั้งฉายาให้ว่าเป็น ‘เพชรในทะเลทราย’

  • ที่ตั้ง : เมืองอัล รายยาน
  • ความจุ : 45,350 ที่นั่ง
  • แมตช์แข่งขัน : 8 นัด (รอบแบ่งกลุ่ม, รอบ 16 ทีม, รอบก่อนรองชนะเลิศ)

22 พฤศจิกายน 2565 : กลุ่ม ดี : เดนมาร์ก พบ ตูนิเซีย เวลา 20.00 น. 

24 พฤศจิกายน 2565 : กลุ่ม เอช : อุรุกวัย พบ เกาหลีใต้ เวลา 20.00 น. 

26 พฤศจิกายน 2565 : กลุ่ม ซี : โปแลนด์ พบ ซาอุดิอาระเบีย เวลา 20.00 น.

28 พฤศจิกายน 2565 : กลุ่ม เอช : เกาหลีใต้ พบ กาน่า เวลา 20.00 น. 

30 พฤศจิกายน 2565 : กลุ่ม ดี : ตูนิเซีย พบ ฝรั่งเศส เวลา 22.00 น.

2 ธันวาคม 2565 : กลุ่ม เอช : เกาหลีใต้ พบ โปรตุเกส เวลา 22.00 น. 

6 ธันวาคม 2565 : แชมป์กลุ่ม เอฟ พบ รองแชมป์กลุ่ม อี เวลา 22.00 น. ที่ สนาม เอดูเคชั่น ซิตี้ สเตเดียม

9 ธันวาคม 2565 : รอบ 8 ทีมสุดท้าย คู่ที่ 1 เวลา 22.00 น.

สำหรับเอดูเคชัน ซิตี้ สเตเดี้ยม เคยถูกใช้เป็นสังเวียนแข้งนัดชิงชนะเลิศ ศึกฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก 2021 ระหว่าง บาเยิร์น มิวนิค พบกับ ติเกรส มาแล้ว รวมทั้งใช้เป็นสนามแข่งขันในศึกเอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก 2020 และฟีฟ่า อาหรับ คัพ 2021 ด้วย ซึ่งหลังจากจบฟุตบอลโลก 2022 เอดูเคชัน ซิตี้ สเตเดี้ยม จะถูกใช้เป็นสนามเหย้าของทีมฟุตบอลหญิงทีมชาติกาตาร์ ต่อไป

ภูมิทัศน์รอบๆ สนามกีฬานั้นเป็นที่มาของชื่อสนาม เพราะโดยรอบเต็มไปด้วยมหาวิทยาลัยชั้นนำหลายแห่ง ซึ่งมีผลงานการวิจัยที่ล้ำสมัยและเป็นแหล่งสร้างนักวิชาการที่ดี ส่วนหน้าอาคารเป็นรูปสามเหลี่ยมที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากรูปแบบทางเรขาคณิตลักษณะซับซ้อนคล้ายเพชร ดูเหมือนเปลี่ยนสีตามการเคลื่อนไหวของดวงอาทิตย์บนท้องฟ้า ในตอนกลางคืนด้านหน้าอาคารจะประดับประดาด้วยแสงสีทำให้ดูสะดุดตามากยิ่งขึ้น รูปแบบของอารีน่าที่สวยงามจะสร้างความทรงจำในเกมฟุตบอลที่ยิ่งใหญ่ ขับเคลื่อนด้วยความหลงใหลของแฟนกีฬา ด้านข้างของสเตเดี้ยมมีการห่อหุ้มสนามทำงานด้วยระบบระบายความร้อนขั้นสูง นำผู้คนใกล้ชิดกับฟุตบอลและลักษณะของสังเวียนจะช่วยทำให้เพลงของแฟนๆ ก้องกังวาน

โลเคชั่นของสนามกีฬาคัดเลือกมาอย่างดีสามารถเข้าถึงได้ง่าย รวมถึงการอำนวยความสะดวกแก่แฟนที่มีความทุพพลภาพ ระยะทางสู่ที่นั่งจะเป็นทางสั้นๆ ตามเส้นทางมีต้นไม้เป็นร่มเงา ทำให้ผู้มาเยือนได้เพลิดเพลินกับ ทัศนียภาพอันงดงามของสถานที่ หลังจากสิ้นสุดการแข่งขันสนามกีฬาแห่งนี้จะเป็นจุดศูนย์กลางของชุมชน สนามฝึกซ้อม และสิ่งอำนวยความสะดวกด้านกีฬา ซึ่งอยู่ไม่ใกลจากแหล่งสถานศึกษา เรียกได้ว่าเป็นการส่งเสริมสังคมที่แท้จริง

Facebook
5 กองหน้าที่ดีที่สุดในโลก

กองหน้าที่ดีที่สุดในโลก 5 อันดับ โหดที่สุด เก่งที่สุด 2022- 2023

ห่างหายกันไปนานกับบทความ หลังจากเปิดฤดูกาลมานี้ ก็มีทั้งทีมที่โลดแล่น และทีมที่ร่วงโรย ศึกที่ดูแล้วมันส์ในอัตรา

Read More »
10 ค่าตัวนักฟุตบอลที่แพงที่สุด

ค่าตัวนักฟุตบอลที่แพงที่สุด ในโลก 10 อันดับ 2022 – Part I

วันนี้เฮียจะมาเล่าให้ฟังถึงค่าตัวของนักเตะ ซึ่งมีแววว่าจะพุ่งขึ้นไปอีกในอนาคต เราเห็นการย้ายตัวนักเตะมาทุกซีซั่นที่สร้างความฮือฮา การย้ายด้วยจำนวนเงินมหาศาลหรือการย้ายตัวแบบฟรีเอเย่นต์แต่ค่าเหนื่อยมหาศาลก็มีเช่นกัน เมื่อคุณมากฝีเท้า

Read More »